แนวทางการดำเนินคดีกับผู้ทำการขอทาน

มาตรา 19 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 13 วรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 20 กรณีผู้ทำการขอทานได้ยอมเข้ารับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตในสถานคุ้มครอง และพัฒนาคุณภาพชีวิตแล้วต่อมาผู้ทำการขอทานผู้นั้นไม่ยอมรับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต และได้ออกไปจากสถานคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยไม่ได้รับอนุญาตต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 21 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดอันเป็นการช่วยเหลือหรือสนับสนุน ให้มีการฝ่าฝืนมาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งได้กระทำโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือโดยมีหรือใช้อาวุธ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 22 ผู้ใดแสวงหาประโยชน์จากผู้ทำการขอทานโดยการใช้ จ้าง วาน สนับสนุน ยุยงส่งเสริม หรือกระทำด้วยวิธีการอื่นใดให้ผู้อื่นทำการขอทานต้องระวางโทษจาคุก ไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำดังต่อไปนี้ ผู้กระทำต้องระวางโทษจาคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

(1) กระทำต่อหญิงมีครรภ์ ผู้สูงอายุ คนวิกลจริต คนพิการ หรือทุพพลภาพหรือผู้เจ็บป่วย

(2) ร่วมกันกระทำหรือกระทำกับบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป

(3) กระทำโดยนาผู้อื่นจากภายนอกราชอาณาจักรให้มาขอทานในราชอาณาจักร

(4) กระทำโดยผู้ปกครองหรือผู้ดูแลของผู้ทาการขอทาน

(5) กระทำโดยพนักงานเจ้าหน้าที่

(6) กระทำโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ดูแลหรือให้คำปรึกษา

บุคคลตาม (1) ความในวรรคหนึ่งและวรรคสอง (1) (2) และ(4)ไม่ใช้บังคับกับการกระทำระหว่างบุพการีและผู้สืบสันดาน