บทบาทหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ และ เจ้าพนักงานท้องถิ่น

บทบาทหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ และ เจ้าพนักงานท้องถิ่น
(ขยายความตามมาตรา 5)


1. เมื่อพบกลุ่มเป้าหมาย จำแนกว่าเป็นผู้ทำการขอทานคือการขอเงินหรือทรัพย์สินจากผู้อื่น เพื่อเลี้ยงชีพการขอทานด้วยการกระทำเพื่อให้ผู้อื่นเกิดความสงสารและส่งเงินหรือทรัพย์สิน และผู้แสดงความสามารถคือการกระทำที่ผู้ได้แจ้งเป็นผู้แสดงความสามารถเพื่อแสดง แก่ผู้ชม ผู้ฟังไม่ว่าจะเป็นการเล่นดนตรี หรือการแสดงอื่นใด ซึ่งทำให้ผู้ชมหรือผู้ฟัง เกิดความพึ่งพอใจต่อการแสดงนั้น โดยส่งมอบเงินหรือทรัพย์สินให้เป็นการตอบแทน
2. ถ้าเป็นผู้ทำการขอทานตามที่ กม.กำหนด ควรถ่ายภาพขณะกระทาความผิด และนำตัวไปลงบันทึกประจำวัน ณ สถานีตำรวจในท้องที่กระทำความผิด จากนั้นนำตัว มาคัดกรองที่สถานคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต
3. ในการคัดกรอง นอกจากการสอบข้อเท็จจริงแล้ว ต้องถ่ายภาพ ตรวจสอบทรัพย์สิน ตรวจสภาพร่างกายจิตใจ ส่วนการสอบข้อเท็จจริงถ้าสงสัยว่าเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์
- กรณีเป็นบุคคลต่างด้าวมาเป็นคู่กับเด็กที่มีความสัมพันธ์กันทางสายโลหิต ให้ตรวจสอบสายพันธุกรรม (DNA) เพื่อพิสูจน์ความสัมพันธ์ โดยในระหว่างดำเนินการให้ส่งตัวไปยังสถานคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามพื้นที่รับผิดชอบ
- กรณีขอทานไทยมาเป็นกับเด็ก ที่แจ้งว่ามีความสัมพันธ์ทางสายโลหิตแต่ไม่มีเอกสารยืนยันให้ดาเนินการตรวจสารพันธุกรรม (DNA)
- ถ้าเป็นคู่ขอทานต่างด้าวให้นำส่งสถานีตำรวจท้องที่ที่กระทำความผิด เพื่อดำเนินการตามพ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 มาตรา 19 พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ในการส่งไปยังกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง หรือสานักงานตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด
- ถ้าเป็นขอทานไทยให้ดำเนินการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตต่อไป
4. กรณีผู้ทำการขอทาน เป็นเด็ก หญิงมีครรภ์ ผู้สูงอายุ คนวิกลจริต คนพิการหรือทุพพลภาพที่ต้องดำเนินการตามกฎหมายเฉพาะให้ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายเฉพาะ เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
5. พนักงานเจ้าหน้าที่อาจไม่ส่งบุคคลตามข้อ 4 ไปตามกฎหมายเฉพาะได้ กรณีเหตุจำเป็น หรือเพื่อประโยชน์ของผู้ทำการขอทาน ได้แก่ กรณีมีความสัมพันธ์ระหว่างกันในฐานะบุพการี หรือผู้ทำการขอทานนั้นมีผู้อุปการะ หรือมีผู้อยู่ในอุปการะ และเป็นการกระทำความผิดครั้งแรก และมีเหตุอันควรได้รับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตในสถานคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต
6. กรณีผู้ทำการขอทานไม่ใช่บุคคลตามข้อ 4 แต่เป็นบุคคลซึ่งไม่สามารถประกอบอาชีพได้ไม่มีญาติมิตรอุปการะเลี้ยงดูและไม่มีทางเลี้ยงชีพอย่างอื่นหรืออยู่ในสภาวะยากลำบาก ให้บุคคลดังกล่าวเข้ารับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตในสถานคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิต
7. กรณีผู้ทำการขอทานยอมรับการคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตในสถานคุ้มครอง แล้วแต่ได้ออกจากสถานคุ้มครองไปโดยไม่ได้รับอนุญาต กรณีนี้ให้ผู้ปกครองสถานคุ้มครอง ไปแจ้งความดาเนินคดีกับผู้ทำการขอทานนั้น ที่สถานีตำรวจที่สถานคุ้มครองนั้นตั้งอยู่ หากการหลบหนีของผู้ทำการมีผู้ให้ความช่วยเหลือ ผู้ให้ความช่วยเหลือนั้นต้องถูกแจ้งความ ดำเนินคดีด้วย ซึ่งจะมีโทษจาคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าการช่วยเหลือนั้นมีการใช้กำลัง ประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือมีการใช้อาวุธ ผู้ช่วยเหลือนั้นจะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
8. ในการสอบข้อเท็จจริงหากพบว่ามีผู้แสวงหาประโยชน์จากผู้ทำการขอทาน โดยอาจใช้ จ้าง วาน สนับสนุน ยุยง ส่งเสริม หรือกระทำด้วยวิธีใดให้ผู้อื่นทำการขอทาน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ดำเนินการร้องทุกข์กล่าวโทษต่อผู้กระทำการนั้น ซึ่งผู้กระทำจะต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
9. ความผิดที่มีโทษรุนแรงที่สุดตาม กม.ฉบับนี้ คือ ผู้ที่แสวงหาประโยชน์จากการนำผู้อื่นมาเป็นขอทาน และเข้าลักษณะ ดังนี้ คือ นำหญิงมีครรภ์ ผู้สูงอายุ คนวิกลจริต คนพิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้เจ็บป่วยมาเป็นขอทาน เป็นการกระทำที่ร่วมกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป หรือกระทำโดยพนักงาน เจ้าหน้าที่หรือผู้ปกครองซึ่งเป็นผู้ดูแลของผู้ทำการขอทาน หรือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ ดูแลหรือให้คำปรึกษาหรือเป็นการนำผู้อื่นจากภายนอกราชอาณาจักรให้มาเป็นขอทานในราชอาณาจักร โทษที่ผู้กระทำได้รับคือจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
10. กรณีเป็นผู้แสดงความสามารถ ให้คำแนะนำเพื่อไปขอมีบัตรประจำตัวผู้แสดงความสามารถ ในส่วนกลางขอมีบัตรได้ที่ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง กรุงเทพมหานครภูมิภาค ขอมีบัตรได้ที่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดทุกจังหวัด มีบัตรแล้วจะไปแสดงความสามารถที่ใด ให้นำบัตรไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นในพื้นที่ที่จะไปแสดง
11. กรณีพนักงานเจ้าหน้าที่ ตรวจพบว่าผู้แสดงความสามารถแสดงโดยไม่ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น นั้น พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้หยุดหรือเลิกการแสดงได้